ประวัติวิทยาลัย

ประวัติวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา..
              
            วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาเดิมเป็นโรงเรียนเรียกว่า 'โรงเรียนประถมช่างไม้' โรงเรียนนี้เป็นแผนกหนึ่งของโรงเรียนประชาบาล ตำบลในเมือง 'วัดสระแก้ว' รับนักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เพื่อเรียนต่อในชั้นประถมศึกษาปัที่ 6 วิชาที่เรียนมีวิชาช่างไม้และสามัญ เมื่อแรกตั้งโรงเรียนนี้ดำนงอยู่ด้วยเงินประถมศึกษา เมื่อนักเรียนสอบไล่ได้ปีที่ 6 แล้วนับว่าเรียนจบชั้นประถมบริบูรณ์
               
             พ.ศ. 2480 ได้เปลี่ยนแปลงแผนการศึกษาใหม่ จึงแยกกิจการออกเป็นเอกเทศแต่คงทำการสอนอยู่ในสถานศึกษาเดิม ส่วนการสอนคงสอนตามหลักสูตรฉบับสังเขปของกระทรวงธรรมการตลอดมา

             พ.ศ. 2481 ทางราชการได้ตั้งโรงเรียนอาชีวการช่างประเภทต่างๆ ขึ้นทุกจังหวัดเพื่อส่งเสริมการอาชีพการช่างให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นและทางรัฐบาลมีความจำเป็นต้องจัดการศึกษาประเภทนี้ให้เป็นปึกแผ่นจึงได้สั่งยุบโรงเรียนประถมช่างไม้เดิมเสียและได้ตั้งโีรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้ขึ้น โดยใช้สถานที่โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดซึ่งทางการได้สั่งย้ายโรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัด ไปอยู่อำเภอโนนวัด (อำเภอโนนสูงปัจจุบัน) เป็นสถานที่เล่าเรียนโรงเรียนนี้ขึ้นตรงต่อจังหวัดและมาทำการเปิดเรียน ณ สถานศึกษาแห่งใหม่เมื่อ วันที่ 1 สิงหาคม 2481

              พ.ศ. 2482 โรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้ เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่จากคำว่า 'โรงเรียนประถมอาชีพช่างไม้' เป็น 'โรงเรียนช่างไม้นครราชสีมา' รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 เข้าเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นปีที่ 1 (แผนกช่างไม้่ฝีมือ) และต่อมาโรงเรียนเปิดทำการสอนในระดับประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง) หลักสูตร 3 ปีขึ้น โดยรับนักเรียนที่สอบไล่ได้ชั้นประโยคมัธยมอาชีวศึกษาตอนต้น(แผนกช่างไม้ฝีมือ) และสอบไล่ได้ ม.3 (ป.7 ในปัจจุบัน) เข้าเรียนต่อในชั้นมัธยมอาชีวศึกษาตอนปลายที่ 1 (แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง) เมื่อเรียนสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง) เมื่อเรียนสำเร็จการศึกษาจะได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้ปลูกสร้าง) เมื่อเรียนสำเร็จการศึกษาแล้วจะได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมอาชีวศึกษา

            พ.ศ. 2499 ได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนใหม่คำว่า 'โรงเรียนช่างไม้นครราชสีมา' เป็น 'โรงเรียนการช่างนครราชสีมา' 

            พ.ศ. 2501 โรงเรียนได้รับอนุญาตให้เปิดสอนในระดับประโยคมัธยมอาชีวชั้นสูง (แผนกช่างไม้และก่อสร้าง) หลักสูตร 3 ปี โดยรับนักเรียนที่สอบไล่ได้ชั้นประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนกช่่างไม้และก่อสร้าง) เข้าศึกษาต่อในมัธยมศึกษาชั้นสูงปีที่ 1 (แผนกช่างไม้และก่อสร้าง) เมื่อนักเรียนจบหลักสูตรนี้แล้วจะได้รับประกาศนียบัตรประโยคมัธยมศึกษาอาชีวศึกษาชั้นสูง (แผนกช่างไม้และก่อสร้าง)      

            พ.ศ. 2502 โรงเรียนได้รับความช่วยเหลือจากองค์การ ส.ป.อ. ให้โรงเรียนอยู่ในโครงการฝึกช่างฝีมือที่จัดขึ้นในประเทศไทย เพื่อผลิตช่างฝีมือระดับกลาง ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในด้านอุตสาหกรรม โดยช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน อุปกรณ์การสอน และเครื่องมือ เครื่องจักรต่างๆ ดังนั้น โรงฝึกงานช่างไม้จึงถูกดัดแปลงตามโครงการนี้ให้เป็นโรงงานที่สามารถใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือ เครื่องจักร ที่ใช้ไฟฟ้าได้

            พ.ศ.2504 กรมศึกษาได้เปิดรับนักเรียนที่สำเร็จกากศึกษาชั้น ม.3 (เดิม) เข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟฟ้า ช่างวิทยุโทรคมนาคม ช่างกลโรงงาน และช่างเชื่อมโลหะแผ่น) หลักสูตร 3 ปี เพื่อทดลองอาชีวศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้ก่อสร้าง) และได้รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประโยคอาชีวศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้ก่อสร้าง) และได้รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาชั้นประโยคอาชีวศึกษาตอนปลาย (แผนกช่างไม้ก่อสร้าง) และผู้สำเร็จการศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาปีที่ 3 สายสามัญศึกษาต่อในระดับประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายสายอาชีพ มีแผนกช่างไฟฟ้า ช่างก่อสร้าง ช่างวิทยุและโทรคมนาคม ช่างยนต์ ช่างกลโรงงาน และแผนกช่างเชื่อมโลหะแผ่นหลักสูตร 3 ปี เข้าเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สายอาชีพ แผนกต่างๆ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วนั้นจะได้รับประกาศนียบัตรมัธนมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.6) สายอาชีพ ตามแผนกต่างๆ ที่เรียนมา 

            พ.ศ. 2510 กระทรวงศึกษาธิการ ได้พิจารณาคัดเลือกให้โรงเรียนอยู่ในโครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา โครงการนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2510 เป็นต้นมาเป็นเวลา 5 ปี โรงเรียนนี้ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากโครงการนี้ เช่น ปรับปรุงอาคารเรียน อุปกรณ์การสอนและอื่นๆ อีกมากมายหลายแห่ง

            พ.ศ. 2513 โรงเรียนได้เปลี่ยนชื่อสถานศึกษาใหม่จากคำว่า 'โรงเรียนการช่างนครราชสีมา'เป็น'โรงเรียนเทคนิคนครราชสีมา' ในโครงการเงินกู้ เพื่อพัฒนาอาชีวศึกษา

            พ.ศ. 2519 โรงเรียนได้รับการยกฐานะเป็น 'วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา' ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อสถานศึกษาใหม่เป็น 'วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา วิทยาเขต 1 ' และเปิดนับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพเพื่อเข้าศึกษาต่อในแผนกช่างไฟฟ้ากำลัง แผนกวิชาช่างไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ แผนกวิชาเครื่องมือกล และแผนกวิชาช่างเชื่อมโละแผ่น มีหลักสูตร 2 ปี เมื่อสำเร็จและจะได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)

            พ.ศ. 2521 กระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้เกิดความสะดวกและความเหมาะสมในการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาจึงเห็นควรให้ วิทยาลัยอาชีวศึกษา ซึ่งมี 2 วิทยาเขต ได้แยกแต่ละวิทยาเขตออกจากวิทยาลัยและตั้งเป็นวิทยาลัยใหม่ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครราชสีมา วิทยาเขต 1 เป็นวิทยาลัยช่างอุตสาหกรรมนครราชสีมา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551

            พ.ศ. 2522 กระทรวงศึกษาธิการได้พิจารณาเห็นสมควรเปลี่ยนชื่อ วิทยาลัยช่างอุตสาหกรรมนครราชสีมา เพื่อให้เหมาะสมกับหลักสูตรลักษณะการสอนในปัจจุบัน และสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น จึงให่เปลี่ยนชื่อเป็น 'วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา' ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2522 

            พ.ศ.2523 กระทรวงศึกษาพิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงขยายการอาชีวศึกษาให้แพร่หลายยิ่งขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ได้มีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้น จึงให้วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา เปิดสอนแผนกวิชาช่างยนต์ ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 
  
            พ.ศ. 2524 กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเห็นสมควรปรับปรุงขยายการอาชีวศึกษา เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสามัญ (มศ.5) ได้มีโอกาสศึกษาต่อสูงขึ้น จึงให้วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาเปิดสอนแผนกวิชาเทคนิคเครื่องเย็นและปรับอากาศสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมโยธาและสาขาวิชาเทคนิควิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)

            พ.ศ. 2525 กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเห็นสมควรให้เปิดสาขาวิชาชีพเพิ่มเติม จึงให้วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาเปิดสอนแผนกวิชาสาขาเทคนิคเขียนแบบเครื่องกล ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาให้กว้างขว้างและสอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

            พ.ศ. 2527 กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเห็นสมควรให้เปิดสาขาวิชาชีพเพิ่มเติม จึงให้วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมาเปิดสอนแผนก วิชาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.)

            พ.ศ. 2527 กรมอาชีวศึกษาได้ดำเนินการคัดเลือกสถานศึกษาดีเด่นของกรมฯ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติสถานศึกษาที่ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่น เพื่อเป็นกำลังใจสนับสนุนผู้บริหารสถานศึกษา ครู-อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา คนงาน ภารโรง ในการร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาปรับปรุงสถานศึกษาให้มีคุณภาพและมาตราฐานสูงขึ้น ตามนโยบายของกรมอาชีวศึกษา และเพื่อให้ได้สถานศึกษาที่เป็นแบบอย่างหรือเป็นต้นแบบแก่สถานศึกษาโดยทั่วไป โดยกรมอาชีวศึกษาได้แต่งตั้งคระกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อการนี้ เรียกว่า 'คณะกรรมการดำเนินการคัดเลือกสถานศึกษาดีเด่นและครูดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2528 ' มีรองอธิบดีกรมอาชีวศึกษา (นายพิเชฎฐ์ คงทน) เป็นประธาน กรรมการผู้อำนวยการกองสถานศึกษาและผู้เกี่ยวข้องเป็นกรรมการและสำนักงานเลขานุการกรมอาชีวศึกษา เป็นฝ่ายเลขานุการ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ได้รับคัดเลือกเป็นสถานศึกษาดีเด่นประเภทช่างอุตสาหกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2528   
                  
            พ.ศ. 2533 เปิดเพิ่มเติมแผนกช่างเชื่อมโลหะระดับชั้น ปวช. ปีที่ 1 จำนวน 2 ห้อง แผนกช่างประกอบผลิตภัณฑ์เป็น 1 ห้อง
                
            พ.ศ. 2534 เปิดเพิ่มเติมแผนกช่างยนต์ในระดับชั้น ปวช. ปีที่ 1 เป็น 3 ห้องเรียนจากเดิม 2 ห้องเรียน
                
            พ.ศ. 2535 เปิดเพิ่มแผนกช่างก่อสร้างและช่างกลโรงงานในระดับชั้น ปวช. ปีที่ 1 เป็นแผนกละ 3 ห้องเรียน จากเดิม 2 ห้องเรียน
                
            พ.ศ. 2537 เปิดเพิ่มเติมระดับ ปวช. สาขาช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์  (วิทยาลัยเทคนิคครูสุรนารี) ระดับ ปวส. สาขาช่างยนต์ ช่างก่อสร้าง ช่างไฟฟ้า และอิเล้กทรอนิกส์ (วิทยาลัยเทคนิคหลวงพ่อคูณฯ)
                
            พ.ศ. 2538 เปิดเพิ่มเติมระดับ ปวส. สาขาวิชาเขียนแบบเครื่องกล
                
            พ.ศ. 2539 เปิดเพิ่มเติม ระดับ ปวส. สาขาเทคโนโลยีโทรคมนาคม สาขาวิชาเทคนิคการผลิต (สาขางานเครื่องมือกล และสาขางานแม่พิมพ์พลาสติก)
                
            พ.ศ. 2540 เปิดเพิ่มเติมระดับ ปวช. สาขาเขียนแบบเครื่องกล และประเภทวิชาพาณิชยกรรม

            พ.ศ 2542 ได้รับการคัดเลืิอกเป็นสถานศึกษารางวัลพระราชทาน

            พ.ศ. 2544 เปิดเพิ่มระดับ ปทส.สาขาเทคนิคไฟฟ้ากำลัง และเป็นศูนย์การเรียนของสถานบันเทคโนโลยีปทุมวัน เปิดสอนระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์   

            พ.ศ. 2545 เปิดเพิ่มระดับ ปวส. ช่างอิเล็กทรอนิกส์ สา์ขางานระบบโทรคมนาคม

            พ.ศ. 2546 เป็นศูนย์การเรียนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ระดับปริญญาโท สาขาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต (คอ.ม)
             
            พ.ศ. 2548 เปิดหลักสูตร ปวช. ปวส. ร่วมกับสถานประกอบการบริษัท สงวนอุตสาหกรรม จำกัด
             
            พ.ศ. 2549 เปิดหลักสูตร ปวช. ปวส. ร่วมกับสถานประกอบการ บริษัท ไดซิน จำกัด
             
            พ.ศ. 2550 จัดการเรียนการสอน โดยความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กับวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ระดับปริญญาตรี หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ) 
 
            วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา ปัจจุบันมีเนื้อที่รวม 42 ไร่ 1 งาน 96 ตารางวา ตั้งอยู่เลขที่ 508 ถนนสุรนารี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000 โทร 044-242002 โทรสาร 044-254950 หรือ www.ntc.ac.th

สัญลักษณ์วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
             เป็นรูปเสมาธรรมจักร ประกอบด้วย ทุ ส นิ ม
                  ทุ  หมายถึง ทุกข์
                  ส  หมายถึง  สมุทัย
                  นิ  หมายถึง  นิโรธ
                  ม  หมายถึง  มรรค
             อยู่ภายในวงกลม วงในล้อมรอบด้วยวงกลมนอกระหว่างวงกลมด้านบนมีคำว่า 'วิทยาลัยเทคนิค' ด้านล่างมีคำว่า 'นครราชสีมา'  ดาวน์โหลดสัญลักษณ์

สีประจำวิทยาลัย
            
นำเงิน - ขาว

สมาคม มูลนิธิ กองทุน
             - สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
             - มูลนิธิเพื่อการศึกษาวิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา
             - กองทุน อาจารย์จรูญ-สุวรรณี อุตกฤษฏ์ และเครือญาติ
 

 

วัตถุประสงค์ วิทยาลัยเทคนิคนครราชสีมา             เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในสายวิชาชีพ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมและสาขาวิชาพณิชยการ ให้มีมาตรฐานวิชาชีพ มีคุณธรรมและจริยธรรม จัดฝึกอบรมวิชาชีพหลักสูตรระยะสั้นและหลักศุตรพิเศษ ให้บริการชุมชนท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนต่าง ๆ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นและส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม